เมื่อกลุ่มทุนที่รวยที่สุดในโลกเทคโอเวอร์ นิวคาสเซิล มีความหมายอะไรบ้างกับลิเวอร์พูลและ FSG

เมื่อกลุ่มทุนที่รวยที่สุดในโลกเทคโอเวอร์ นิวคาสเซิล มีความหมายอะไรบ้างกับลิเวอร์พูลและ FSG

ข่าวใหญ่ในวงการฟุตบอลช่วงเบรคทีมชาติคงไม่มีข่าวไหนที่ยึดหัวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับได้เวลานี้เท่ากับการเทคโอเวอร์ของกลุ่มทุนซาอุดิอาระเบียที่เข้าครอบครองสโมสรนิวคาสเซิลจากไมค์ แอชลีย์ได้สำเร็จ

เป็นการปิดฉาก 14 ปีภายใต้การนำของเจ้าของทีมเดิมที่เน้นกำไร ไม่เน้นแชมป์
อย่างไรก็ตามการเข้าเทคของกลุ่มทุนใหญ่นี้มีผลอย่างไรบ้างทั้งต่อพรีเมียร์ลีกและลิเวอร์พูลบ้างมาไล่เรียงกัน
การที่แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ถูกตั้งคำถมว่า จะก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในกลุ่มหัวกะทิในพรีเมียร์ลีกและแชมเปี้ยนส์ลีกจะเกิดขึ้นหรือไม่ หากซิตี้ไม่ได้มีเจ้าของสโมสรรวยขนาดนี้ หลังการนำกฎ Financial Fair Play ของยูฟ่ามาใช้
มีกรณีของซิตี้ที่กล่าวได้ว่า มีการลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานใหม่จำนวนมากโดยไม่จำเป็นต้องเดือดร้อนเรื่องการเงินในทุกๆ ตลาดการซื้อขาย ทำให้พ็อตโฟลิโอภายใต้ City Football Group ได้ขยายเป็นสองเท่า และการลงทุนของพวกเขาสามารถมองเห็นได้ทั้งในแบบรูปธรรม ไม่ใช่แค่ผลงานในสนาม
นับตั้งแต่ FFP ถูกนำมาใช้ในฤดูกาล 2011/12 แมนซิตี้ซึ่งขึ้นไปอยู่หัวตารางของพรีเมียร์ลีกแล้วในเวลานั้น และต้องขอบคุณ เซคิโอ อเกวโร่ ที่พาทีมได้แชมป์แรกพรีเมียร์ลีกมาครองได้สำเร็จ ภายใต้การนำทีมของโรแบร์โต้ มันชินี่
หลังจากนั้นความสำเร็จอื่นๆ ก็ตามมาไม่หยุด และผลงานที่ซิตี้ทำได้ดีในยูโรป้าลีก ทำให้ซิตี้สามารถยังรักษาเงื่อนไขรายได้ที่เข้ามาตามกฎ FFP เอาไว้ได้
แม้ว่าสโมสรถูกยูฟ่ากล่าวหาว่ามีการละเมิดกฎในอีกหลายปีต่อมา ผ่านข้อตกลงทางการค้าที่สูงเกินจริง แต่ศาลอนุญาโตตุลาการกีฬาได้ยกเลิกคำสั่งห้ามซื้อขายสองปีของซิตี้เอาไว้ เนื่องจากขาดหลักฐานที่ชัดเจนและทำให้การสอบสวนพรีเมียร์ลีกยังคงเปิดกว้างอยู่
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ซิตี้สามารถรับมือกับเรื่องดังกล่าวได้ เพราะรายได้จากความสำเร็จต่างๆ ซิตี้กลายเป็นขาประจำของ UCL และเป็นเต็งแชมป์พรีเมียร์ลีกอยู่ทุกปี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พวกเขาไม่เคยพลาดการไปเล่น UCL เลยสักครั้ง ทำให้เรื่องรายได้ที่ต้องสมดุลกับรายจ่ายนั้นไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปและสามารถดึงดูดผู้เล่นที่ดีที่สุดในระดับโลกเข้าสู่ทีมได้อีกด้วย
สำหรับลิเวอร์พูลแล้ว การก้าวขึ้นมาเถลิงอำนาจของซิตี้ ทำให้การแข่งขันแย่งชิงตำแหน่งแชมป์ยากมากขึ้น อย่างที่เคยยากขึ้นมาก่อนหน้านี้ช่วงต้นปี 2000 กับการเข้ามาของเศรษฐีจากรัสเซียอย่างโรมัน อบราโมวิช และเชลซี ทำให้เชลซีจบการรอคอย 50 ปีในเรื่องแชมป์ลีกได้ภายใต้กุนซืออย่างมูรินโญ
การที่ซิตี้เริ่มลงทุนได้มากก่อนการเกิดกฎ FFP นั้นทำให้พวกเขาได้เปรียบพวกเขาสามารถลงทุนมากกว่าคู่แข่งเพื่อลดช่องว่างนั้นโดยไม่ทำผิดกฎข้อบังคับของยูฟ่าหรือพรีเมียร์ลีกในเวลานั้น
ส่วนลิเวอร์พูลนั้นถือป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มท็อปลีกมานานแล้ว แต่เพื่อให้ไล่ตามความเปลี่ยนแปลงให้ทันลิเวอร์พูลต้องทำสิ่งต่าง ๆ ให้แตกต่างออกไป
การเข้าไปร่วมเล่นใน UCL ให้ได้จึงเป็นความทะเยอทะยานอันดับแรกๆ ในเวลานั้นที่ลิเวอร์พูลต้องทำให้ได้ คือเพียงแค่ได้สิทธิ์เข้าไปร่วมวงไพบูลย์ในถ้วยบิ๊กเอียร์ได้ ก็ได้รับเงินกันอย่างต่ำ 53 ล้านปอนด์แล้ว โดยยังไม่ต้องลงเตะสักนัดเลยด้วยซ้ำ
และเมื่อลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ได้ในปี 2019 ทีมทำเงินได้ 113 ล้านปอนด์จากการแข่งขัน ทำให้หงส์แดงเป็นสโมสรที่ไม่เสี่ยงต่อการละเมิด FFP ระหว่างที่กลุ่ม Fenway Sports Group เข้ามาบริหาร ซึ่ง FSG เข้ามา take over สโมสรก่อนการเกิดกฎ FFP เพียงหนึงฤดูกาล
กฎ FFP เกิดขึ้นมาเพื่อหยุดการพังทลายด้านการเงินที่สโมสรฟุตบอลหลายสโมสรมีความเสี่ยงมาก หากใช้เงินอย่างไม่ถูกต้อง ในการไล่ซื้อความสำเร็จ เป็นการวางกรอบวางรั้วในการใช้จ่ายให้สมเหตุผล ด้านรายรับและรายจ่าย
แต่ในขณะเดียวกันเมื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มการแข่งขันให้มากขึ้น กลับกลายเป็นอันตรายกับสโมสรที่เล็กกว่า สโมสรซึ่งพยายามสร้างให้ตัวเองกลายเป็นขาประจำในบอลยุโรป เมื่อเข้าไปแล้วก็สามารถสร้างโอกาสคว้าเงินก้อนโตจากรางวัลและมีความเกี่ยวกับกับดีลต่างๆ กับหลายบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับรายการบอลยุโรป
เงินรางวัลที่มากมายนั้นทำให้ยิ่งเกิดช่องว่างความแตกต่างระหว่างทีมที่ได้ไปเล่นยุโรปและทีมที่ไม่ได้ไปยุโรปให้เห็นความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนช่องว่างยิ่งห่างชั้นกันมากขึ้นทุกที
เลสเตอร์ซิตี้ คว้าแชมป์ ในฤดูกาล 2015-16 โดยที่มีอัตราต่อรอง 5000-1 (แทง 1 จ่าย 5000) เรียกได้ว่าเป็นทีมม้ามืดสยบงานปาร์ตี้ของเหล่าทีมใหญ่ แต่ทำให้พวกเขาผ่านไปเล่น UCL และมีเม็ดเงินไหลเข้ามาทำให้เกิดการลงทุนใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เลสเตอร์กลายเป็นการท้าทายแก่เหล่า Big 6 (แมนยู แมนซิตี้ ลิเวอร์พูล เชลซี อาร์เซนอล และเชลซี) ในทันที และอย่างที่เห็น มีสเปอร์อีกทีมหนึ่งที่สร้างความยากลำบากให้อีก
ขณะที่เอฟเวอร์ตันเริ่มมีความท้าทายเกิดขึ้นจากทีมนี้เมื่อ ฟาร์ฮัด โมชิรี เข้ามาเทคโอเวอร์เมื่อปี 2015 เพื่อพยายามลดช่องว่าง ขณะนี้ก็กำลังจะย้ายไปสนามใหม่ที่ แบรมลีย์มัวร์ ด็อค อีก
เอฟเวอร์ตัน หมดเงินไปเยอะกว่า 450 ล้านปอนด์ในการสร้างทีมใหม่ โดยเฉพาะการเซ็นสัญญาตัวของ ริชาร์ลิซอนเข้ามา ก็ใช้เงินไปถึง 50 ล้านปอนด์แล้ว รวมถึงสตาร์ดังอย่าง ฮาเมส โรดิเกวซ ยังไม่พูดถึงการดึงตัวกุนซืออย่าง คาร์โล อันเชล็อตติมาอีก แต่อย่างไรก็ตาม ท็อฟฟี่ก็ยังทำลายกำแพงเพดานขึ้นไปสู่การเป็น Big 6 ทีมใหม่ไม่ได้
เวลานี้ แฟนบอลนิวคาสเซิล ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทีมของพวกเขาจะได้กลับมายกระดับทีมอย่างจริงจังอีกครั้งเพื่อให้ทีมกลับไปอยู่บนตำแหน่งที่ใช่ของพวกเขาเสียที
สโมสรจากฝั่งอีสานของอังกฤษ ได้เจ้าของทีมใหม่เป็นกลุ่ม PIF กลุ่มทุนที่ร่ำรวยมาก ทำให้ทูนอาร์มีได้หลุดพ้นจากความตกต่ำในลีกอันยาวนานกว่า 14 ปี ลงได้
แอชลีย์ ดำเนินการกับสโมสรแบบนักธุรกิจ และให้การลงทุนกับทีมชุดใหญ่อย่างจำกัดมาโดยตลอด และเป็นแฟนนิวคาสเซิลที่มีแต่ต้องทนและพยายามขับไล่ไสส่งเจ้าของทีมตลอดเวลาหลายปี เพราะเชื่อว่าคงไม่มีความสำเร็จอะไรเป็นชิ้นเป็นอันแน่นอนหากแอชลีย์ยังอยู่แบบนี้
การเข้าเทคโอเวอร์ของสโมสรเคยบรรลุข้อตกลงระหว่างกันไปแล้วเมื่อปีกที่ผ่านมา แต่ถูกพรีเมียร์ลีกปฏิเสธจากเหตุผลเรื่องความน่าสงสัยในเรื่องมนุษยธรรมและความเกี่ยวข้องโดยตรงจากเจ้าของสโมสร
แต่ข้อตกลงดังกล่าวก้กลายเป็นจริงได้ในที่สุดซึ่ง PIF ได้ถือหุ้น 80 % ส่วนอีก 20 % เป็นของ อแมนด้า สเตฟลีย์ และ พี่น้องรูเบน คนละ 10 %
ตัวเลขที่ไมค์ แอชลีย์ รอคอยก็เป็นจริง เมื่อเขาซื้อมาในราคา 133 ล้านและปล่อยออกไปได้ในราคากว่า 300 ล้านปอนด์
ดังนั้นการลงทุนครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมนี้จะเกิดขึ้นแน่นอน และต้องคอยจับตาดูสถานการณ์ของผู้จัดการทีมคนปัจจุบันอย่างสตีฟ บรูซ ที่อยู่ภายใต้ความกดดันอย่างหนักจากทุกทาง
เพราะในเมื่อจะต้องมีการลงทุนหลายด้านทั้งโครงสร้างพื้นฐานรอบๆ สโมสร เงินที่จะใช้ทั้งในสนามแข่งและศูนย์เยาวชนก็จะเป็นไปตามแผนการใหม่ของสาลิกาดงอยู่แล้ว การใช้เงินซื้อตัวในตลาดหน้าหนาวนี้ก็อาจจะเป็นแนวทางเดียวกับที่เอฟเวอร์ตันเคยใช้มาก่อนภายใต้การนำของโมชิรี่ บรูซเองก็กลายเป็นตัวเต็งอันดับแรกที่จะโดนหางเลขที่ทำให้เขาต้องมีโอกาสตกงาน
อย่างไรก็ตามนิวคาสเซิลยังไม่เข้าข่ายเสี่ยงผิดกฎของ FFP ในเมื่อสโมสรยังมีกำไรอยู่จากสี่ปีหลัง แม้ว่าจะขาดทุนไปบ้างเมื่อฤดูกาลที่แล้วที่ 22.5 ล้านปอนด์ก็ตาม
การกลับมาของทูนอาร์มีในครั้งนี้ ก็เริ่มสร้างความกังวลเพิ่มให้กับทุกทีม ไม่เว้นลิเวอร์พูลที่จะถูกท้าทายเรื่องการคว้าแชมป์ลีกอีกครั้ง
สโมสรต่างๆ ล้วนถูกท้าทายกับเหตุการณ์นี้หากในอนาคตยังต้องการเป็นทีมระดับหัวกะทิเพื่อกุมอำนาจลูกหนังกันต่อไปในระยะยาว
การเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ ผ่านข้อตกลงการสนับสนุนทางสปอนเซอร์อาจเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยเหลือเรื่องนี้แก่สโมสรต่างๆ แต่ด้วยความสามารถของทางฝ่ายรัฐและกฎทางการเงินที่มีข้อจำกัด และด้วยรายได้ของแชมเปี้ยนส์ลีกที่จะการันตีเงินเข้ามาให้กับสโมสรใหญ่ๆ แน่นอนว่าปิดช่องว่างระหว่างทีมเล็กและทีมใหญ่ได้ยากมาก
นิวคาสเซิลเองแม้จะได้ผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามา จึงยังไม่อาจทำอย่างที่แมนซิตี้ และ เชลซีเคยทำได้เร็วๆ นี้
พวกเขาไม่อาจเผาเงินทิ้งไปเรื่อยๆ หรือสามารถทุ่มเงินให้กับการแก้ปัญหาของตัวเองเพื่อเปลี่ยนตัวเองให้เป็นผู้ท้าชิงโดยสุจริตในพรีเมียร์ลีกได้ในทันที
อย่างน้อยที่สุด นิวคาสเซิลต้องมีการพาทีมไปเล่นบอลยุโรป หรือคว้าแชมป์ในประเทศให้ได้สักรายการเสียก่อน เอาแค่ในช่วงปีนี้ก็ต้องหนีให้พ้นจากโซนอันตรายจากการตกชั้นให้ได้
แต่เวลานี้นิวคาสเซิลไม่มีกระสุนเงินที่จะยิงไปถึงที่ตรงนั้นได้ ยังต้องใช้เวลาในการไล่ล่าความสำเร็จกันอีกสักพักใหญ่
สำหรับลิเวอร์พูลในเวลานี้แล้ว ทีมยังไม่ได้อยู่นอกสายตาในการไล่ล่าความสำเร็จแต่อย่างใด
บทความโดย
Dave Powell Business of Football Writer
Liverpool Echo
********
-Tom Wriner-

• เรื่องน่าสนใจ •

สัมภาษณ์แรกของวาตารุ เอ็นโด ‘มันคือฝันที่เป็นจริงที่ผมได้เซ็นสัญญากับทีมลิเวอร์พูล’

วาตารุ เอ็นโด อธิบายว่าเขาบรรลุความทะเยอทะยานที่มีมาอย่างยาวนานอย่างไร...