ต้นเหตุความเกลียดชัง ลิเวอร์พูลแมนยู

ต้นเหตุความเกลียดชัง ลิเวอร์พูลแมนยู

เรื่องหนึ่งที่น่าสงสัยก็คือ ทำไมแฟนบอล แมนยู และลิเวอร์พูล จึงเกลียดชังกัน เป็นเหตุผลมาจากฟุตบอลอย่างเดียวจริงหรือเปล่า ซึ่งอันที่จริงมูลเหตุมีเค้ามาก่อนหน้านั้นแล้ว

แมนเชสเตอร์ และลิเวอร์พูล เป็นเมืองใหญ่ ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ
ทั้งสองเมืองต่างยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยสินค้าที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมตัวแรกก็คือ “ผ้าฝ้าย” โดยเฉพาะการที่อังกฤษนำวฝ้ายเข้าจากอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมใหญ่
โดยขึ้นสินค้าที่เมืองท่า (ลิเวอร์พูล) เพื่อส่งต่อไปยังเมืองอุตสาหกรรม (แมนเชสเตอร์) ผลิตเป็นผ้าฝ้ายแล้วส่งกลับไปยังเมืองท่าเพื่อส่งออก
การขนส่งฝ้ายเข้าไปยังเมืองแมนเชสเตอร์แต่ละครั้ง แมนเชสเตอร์ต้องเสียค่าผ่านทางให้ทางฝั่งลิเวอร์พูลเสมอ ทำให้เมืองลิเวอร์พูลมีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมากมาย ขณะที่ชนชาวแมนเชสเตอร์ต้องไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก
เมื่อทางเมืองแมนเชสเตอร์ เสียเงินบ่อยครั้งเข้า ทำให้แมนยูไม่อยากจ่ายเงินค่าผ่านทางให้ลิเวอร์พูลอีกต่อไป
ชาวเมืองจึงมีการรวบเงินกันเพื่อซื้อพื้นที่เป็นแปลงยาว เริ่มต้นจากเวอร์รัล ไปถึง ซัลฟอร์ด ขุดเป็นคลองยาว ทำให้กลายเป็นเส้นทางเรือขนส่งฝ้ายเข้ามาโดยตรง (ปัจจุบันคือคลอง Manchester ship Canal)
พอแมนเชสเตอร์ไม่ต้องพึ่งพาเส้นทางจากลิเวอร์พูลและสามารถส่งฝ้ายเข้าออกโดยตรงจากทะเลจึงทำให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ชาวเมืองลิเวอร์พูลได้รับผลกระทบจึงทำให้ชาวเมืองตกงานกันเป็นจำนวนมาก
ความเกลียดชังและแดกดันต่อลิเวอร์พุลของแมนเชสเตอร์ ยังปรากฎอยู่ในโลโก้ของ แมนยู และ แมนซิตี้ จะมีรูปเรือใบ อยู่ในโลโก้ของทั้งสองสโมสร ทั้งที่เมืองแมนเชสเตอร์ไม่ได้ติดทะเลก็เพราะว่า ต้องการเยาะเย้ยลิเวอร์พูลว่า “กูก็มีเรือของตัวเองนะโว้ย”
ซึ่งความเกลียดชังอันนี้ริเริ่มมาจากชนชั้นนายทุนยังไม่ได้ขยายวงกว้างไปยังชนชั้นแรงงาน
แต่สิ่งที่ทำให้ลิเวอร์พูลกับแมนยูเกลียดกันไปจนถึงระดับชนชั้นแรงงาน ก็เพราะเรื่องฟุตบอล
แมนเชสเตอร์ตั้งสโมสรขึ้นมาก่อนลิเวอร์พูล โดยก่อตั้งในปี 1878 โดยยังไม่มีโลโก้ปีศาจเหมือนปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้มีทีมรักบี้อังกฤษใส่เสื้อสีแดงเล่นแข่งกับฝรั่งเศส ซึ่งเก่งมาก ทำให้ทางฝรั่งเศสก็จะเรียกทีมรักบี้จากอังกฤษว่า “พวกปีศาจแดง” ทำให้แมนยูเอาชื่อและคิดโลโก้นี้ขึ้นมาใช้
ส่วนลิเวอร์พูลก่อตั้งในปี 1892 โดยมีสัญลักษณ์เป็นนกลิเวอร์เบิร์ด ซึ่งจริงๆแล้วต้องอ่านว่า ไลเวอร์เบิร์ด เป็นนกในตำนานที่ “ไม่มีตัวตนอยู่จริง” แต่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองลิเวอร์พูล ก่อนที่สโมสรฟุตบอลจะนำมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของทีม
เมื่อปี 1207 จอห์นแห่งอังกฤษได้สถาปนาลิเวอร์พูลให้เป็นเมืองท่า เพื่อใช้เป็นฐานทัพแห่งหนึ่งของอังกฤษ ส่งกองกำลังไปคุมไอร์แลนด์ โดยตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์เป็นรูป “นกอินทรีคาบดอกไม้”
ต่อมาในช่วงในศตวรรษที่ 17 ตราสัญลักษณ์ได้หายไป จึงได้มีการสร้างขึ้นมาใหม่
แต่เป็นการวาดจากข้อมูลเก่าแก่และตำนานต่างๆ ซึ่งศิลปินที่วาดไม่เคยเห็นนกอินทรีมาก่อน นอกจากนกในแถบนั้น จึงได้ออกมาเป็นนกลิเวอร์เบิร์ด ที่เห็นกันอยู่ปัจจุบัน ซึ่งคาดกันว่านกที่ปรากฎอยู่บนตราสัญลักษ์คือ นกกาน้ำ (Cormorant) ที่มีมากในแถบเมืองลิเวอร์พูล
โดยสิ่งที่นกชนิดนี้ชอบคาบไปทำรังคือสาหร่ายทะเลที่เรียกว่า laver ซึ่งต่อมาได้แผลงเป็นชื่อเมือง = Liver เมื่อสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลก่อตั้งในปี 1892 นก Liver Bird ก็ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของสโมสรหลังจากที่แยกออกมาจาก Everton ตามสัญลักษณ์ของเมืองจนถึงปัจจุบัน
แต่แม้จะก่อตั้งทีหลังแมนยูก็ตามแต่มักได้นักเตะฝีเท้าดีเข้าสโมสรมาโดยตลอด จึงขับเคี่ยวแย่งแชมป์กับแมนยูมาเรื่อยๆ (นับถ้วยที่ได้รวมกันของสองสโมสรกว่า 131 ถ้วย) เพราะว่าฝีเท้านักฟุตบอลสองสโมสรนั้นใกล้เคียงกันมาก ผลัดกันแพ้ชนะอยู่เป็นประจำ ฝ่ายใดแพ้ก็จะโดนฝ่ายชนะเหยียด ถ่มถุยด่าทอกันไปมา
ยุคนั้นการแข่งขันฟุตบอลแมทช์ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดคือ ฟุตบอลดิวิชั่น 1 อังกฤษ (ก่อตั้งลีกดิวิชั่น 1 ในปี 1888) ซึ่งลิเวอร์พูลสามารถคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 ได้ตั้งแต่ปี 1901 ส่วนแมนยู กว่าจะได้แชมป์ดิวิชั่น 1 ก็ต้องรอถึงปี 1908
ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ก่อนที่ลีกจะพัฒนาขึ้นเป็นพรีเมียร์ลีกในปี 1992 ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและความต้องการในการลดเรื่องฮูลิแกนในสนามฟุตบอลลง เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับเหตุโศกนาฎกรรมฮิลส์โบโร่อีก
ซึ่งในช่วงเวลานั้นลิเวอร์พูลก็คว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 ไปแล้วถึง 18 ครั้ง ส่วนแมนยูทำได้เพียง 7 ครั้งเท่านั้นโดยดาวยิงตลอดกาลช่วงที่ยังเป็นดิวิชัน 1 เดิมใน 10 อันดับแรก มีกอร์ดอน ฮอดจ์สัน เพียงคนเดียวจากลิเวอร์พูลที่ครองดาวซัลโวสูงสุดอันดับที่ 4 ได้คือ 287 ประตูจาก 456 นัด ส่วนนักเตะจากแมนยูไม่มีชื่อติดโผเลยแม้แต่คนเดียว
แต่แล้วความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เกิดขึ้นกับแมนยูก็คือ ตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมาแมนยูมีการเปลี่ยนตัวผุ้จัดการทีมครั้งสำคัญคือการดึงเอา อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน จากอเบอร์ดีนมาทำทีม
โดยภายใต้การทำทีมของเฟอร์กี้ นำแมนยูได้แชมป์พรีเมียร์ลีกถึง 13 สมัย เมื่อรวมกับดิวิชั่น 1 เดิมที่ทำได้ 7 ครั้งก็ทำให้ได้แชมป์สูงสุดในอังกฤษที่ 20 สมัย ส่วนลิเวอร์พูลตั้งรอนานกว่าจะได้แชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรกถึง 30 ปี ภายใต้การคุมทีมของเจอร์เก้น คล็อปป์ได้ในฤดูกาล 2019-20
เฟอร์กูสันเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “Knocking Liverpool right off their fucking perch”
“ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของผมยังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้ ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของผมคือการล้ม ลิเวอร์พูล ลงจากหิ้งบ้าๆ นี้ให้ได้ คุณนำคำพูดนี้ของผมไปตีพิมพ์ได้เลย” ซึ่งกล่าวไว้ในปี 2002
ในศึก FA คัพเมื่อปี 2006 โดยตอนนั้น ลิเวอร์พูล เพิ่งได้แชมป์ แชมเปี้ยนส์ ลีก 2005 ที่ อิสตันบูล มา ก็มีป้ายเขียนข้อความว่า “ดูสิ อเล็กซ์ เรากลับมาอยู่บนหิ้งของเราแล้วว่ะ” (Look Alex Back on Our Fucking Perch)
และปีนั้นลิเวอร์พูลก็ได้แชมป์ FA จากจุดโทษเอาชนะเวสต์แฮมไปได้ หลังเสมอในเวลา 3-3
ตอนที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ได้แชมป์ลีกสมัยที่ 19 เมื่อปี 2011 ทำให้พวกเขาแซงหน้าสถิติแชมป์ลีกสูงสุดของ ลิเวอร์พูล 18 สมัย ซึ่งเหล่าแมนคูเนียนก็มีป้ายแบนเนอร์ข้อความว่า
“สมัยที่ 19 เราได้นั่งบนหิ้งของเราแล้ว” (19th Sat On Our Perch)
อีกด้านหนึ่ง แฟนบอลลิเวอร์พูล บางคนแย้งว่า เฟอร์กูสันไม่เคยเขี่ยพวกเขาร่วงจากหิ้งหรอกแต่เป็นเพราะ ลิเวอร์พูลร่วงหล่นลงมาเองต่างหาก
โดย “เดอะ ค็อป” กลุ่มดังกล่าวบอกว่าสาเหตุที่พวกเขาพลาดจนร่วงลงมาจากหิ้งเองนั้น เป็นเพราะความผิดผลาดในการหาคนมาคุมทีมหลายต่อหลายครั้ง รวมถึงการเสริมทัพที่ไม่ถูกต้องที่จ่ายเงินแพงเกินไปหลายต่อหลายหน
อีกเรื่องก็คือ ความที่เมืองทั้งสองยังมีจุดเด่นเรื่องวงดนตรีที่มีชื่อเสียง (บีทเทิล)ลิเวอร์พูล และ (โอเอซิส) แมนเชสเตอร์ ทำให้การแข่งขันด้านดนตรี เพิ่มสูงขึ้นไปด้วยอีกด้านหนึ่ง (แม้วงโอเอซิสจะเป็นแฟน แมนซิตี้ก็ตาม)
โดยเพลง You will never walk alone เป็นเพลงที่ขับร้องโดยวง Gerry and The Pace makers ชาวเมืองลิเวอร์พูล ซึ่งเอามาร้องคัฟเวอร์ จึงมีการนำมาเป็นเพลงประจำสโมสร แต่ฝั่งแมนยูก็ออกมาเคลมว่าเพลงนี้ แมนยูใช้มาก่อน
จุดเริ่มต้นคือโดยในปี 1945 ปีที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 มีละครเพลง Carousel (ม้าหมุน) เป็นละครเพลงเรื่องที่สองโดยทีมงานของ Richard Rodgers (ดนตรี) และ Oscar Hammerstein II ในอเมริกาซึ่งมีความโด่งดังมากนำเพลงนี้มาใช้ในละครเวทีเรื่องดังกล่าว
ในปี 1958 เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันคือเครื่องบินตกในมิวนิค ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ นักเตะ 8 คน และเจ้าหน้าที่อีก 3 คน ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินระเบิดในมิวนิค ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตรวมจากเหตุการณ์นี้ทั้งหมด 23 ราย
เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากพวกเขาบินกลับจากการแข่งขันกับทีมเรดสตาร์เบลเกรดในเกมยูโรเปียนคัพ เครื่องบินของนักเตะแมนยูได้แวะจอดเติมเชื้อเพลิงในมิวนิค และพยายามขึ้นบินท่ามกลางพายุหิมะซึ่งนักบินได้ล้มเลิกการขึ้นบินกลางคันแล้ว 2 ครั้ง
ในความพยายามขึ้นบินครั้งที่ 3 นี่เองที่ทำให้เกิดหายนะขึ้น เครื่องบินลื่นไถลออกนอกรันเวย์ชนรั้วสนามบินจนเกิดการระเบิดขึ้น ทำให้ผู้โดยสาร 21 รายได้เสียชีวิตทันทีหลังเกิดเหตุระเบิด ส่วนกัปตันผู้บังคับเครื่องบิน เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
ดันแคน เอ็ดเวิร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในนักเตะแมนยูฯ เสียชีวิตหลังเกิดเหตุได้ 15 วัน ขณะที่ แมตต์ บัสบี ผู้จัดการทีม และบ็อบบี ชาร์ลตัน ซึ่งขณะนั้นเขาอายุเพียง 20 ปี เอาชีวิตรอดมาได้
บ็อบบี้ ชาร์ลตันมีส่วนในความสำเร็จครั้งใหญ่ในการสร้างทีมใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง และสามารถคว้าถ้วยยูโรเปียนคัพมาครองได้สำเร็จในอีก 10 ปีต่อมาซึ่งก่อนหน้านั้น 2 ปี บ็อบบี้ ชาร์ลตันก็พาอังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกและครั้งเดียวได้ในปี 1966
เหตุการณ์เครื่องบินตกในมิวนิคปี 1958 ชาวแมนเชสเตอร์ได้นำเพลง You will never walk alone มาร้องเพื่อไว้อาลัยให้บรรดานักเตะที่เสียชีวิต และวง Gerry and The Pace makers ได้ยินเข้าจึงไปเอาเพลงนี้มาร้องคัฟเวอร์ในเมืองลิเวอร์พูลจนมีชื่อเสียงขึ้นมา
ดังนั้นถ้าเรื่องเพลง YNWA แฟนแมนยูก็มักจะบอกแฟนลิเวอร์พุลว่า จริงๆ แล้วเราชาวแมนเชสเตอร์ร้องมาก่อนพวกเอ็งนะ เอ็งแค่เคลมไปใช้จนดังแค่นั้น
ยังมีเหตุการณ์เกี่ยวกับฟุตบอลที่ทั้งสองสโมสรกระทบกระทั่งกันไปมาครั้งแล้วครั้งเล่า และอีกปัจจัยที่ทำให้ลิเวอร์พูลเกลียดแมนยู มากขึ้นก็คือ เวยน์ รูนีย์ ซึ่งเป็นเด็กท้องถิ่นลิเวอร์พูลโดยกำเนิด และเป็นแฟนเอฟเวอร์ตัน โดยที่รูนีย์แสดงออกถึงความเกลียดชัง ต่อลิเวอร์พูลอย่างชัดเจน
ในการให้สัมภาษณ์ในปี 2009 รูนีย์อ้างว่าเขาเป็นแฟนบอลเอฟเวอร์ตันมาโดยตลอด และเขาเติบโตขึ้นมาโดย “เกลียดลิเวอร์พูล” และย้ำเตือนโลกว่าทัศนคติของเขาที่มีต่อหงส์แดงจะ “ไม่เปลี่ยนแปลง” ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามในปีที่เกิดโศกนาฎกรรมมิวนิค 1958 ลิเวอร์พูลก็ให้แมนยูยืมตัวนักเตะไปใช้งาน หรือในปี 1989 ที่เกิดโศกนาฎกรรมฮิลส์โบโร แมนยูก็แสดงความเสียใจต่อลิเวอร์พูลอย่างเป็นทางการ .
เรียกได้ว่าเป็นคู่รักคู่แค้นที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากทีเดียว
ส่วนแฟนบอลชาวไทยก็เชียร์กันหอมปากหอมคอ
อย่าอินมากขนาดเกลียดกันจนไม่มองหน้ากันเลยนะครับ
*****
tom wriner

• เรื่องน่าสนใจ •

สัมภาษณ์แรกของวาตารุ เอ็นโด ‘มันคือฝันที่เป็นจริงที่ผมได้เซ็นสัญญากับทีมลิเวอร์พูล’

วาตารุ เอ็นโด อธิบายว่าเขาบรรลุความทะเยอทะยานที่มีมาอย่างยาวนานอย่างไร...