เจ้าของเสื้อเบอร์ 11 ทำสองประตูในค่ำคืนวันอังคารที่ผ่านมาที่เอาชนะแมนฯ ยูไนเต็ด 4-0 ที่แอนฟิลด์ เกิดขึ้นในเกมที่ 42 ของเขาในฤดูกาล 2021-22

มันเป็นครั้งที่ 28 ในประวัติศาสตร์ที่นักเตะหงส์แดงทำประตูถึงตัวเลขรวมนั้น ซาลาห์กลายเป็นคนที่ 13 และคนล่าสุดที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มตำนานดาวยิงย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2018

เจาะลึกคนที่เคยทำสำเร็จให้กับลิเวอร์พูลด้านล่าง…

แซม เรย์บาวด์ : 32 ประตู (1902-03)

คนแรกที่ทำได้ให้กับลิเวอร์พูล เรย์บาวด์ได้เหรียญแชมป์ลีกกับสโมสรมาแล้วในฤดูกาล 1900-91 และทำได้อีกครั้งในห้าฤดูกาลต่อมา อย่างไรก็ตามส่วนตัวของเขาแล้วเป็นฤดูกาล 1902-03 ที่ทำได้ 32 ประตูจากการลงเล่นเพียง 34 เกม รวมถึง 4 ประตูในเกมลีก กับกริมสบี

ความสำคัญของเขาส่งผลให้เห็นในฟโกาลต่อมา เมื่อการที่เขาติดโทษแบนครึ่งฤดูกาลแรกจากความพยายามย้ายทีมอย่างผิดกฎหมาย นั่นทำให้ทีมตกชั้นในเวลาต่อมา

แจ็ค พาร์กินสัน : 30 ประตู (1909-10)

พารกินสันกองหน้าจากบูเทิลได้รับการจับตามองตั้งแต่ทำ 20 ประตูจาก 21 เกมในระหว่างที่ลิเวอร์พูลอยู่ในดิวิชั่น 2  ในฤดูกาล 1904-05 แต่การบาดเจ็บรบกวนโอกาสแสดงศักยภาพของเขาในฤดูกาลต่อๆ มา

แต่เขากลับมาฟิตสมบูรณ์ และเข้าฟอร์มในฤดูกาล 1909-10 ที่ทำไป 30 ประตูจาก 31 เกมลีก มากกว่าทุกคนในดิวิชั่น 1 ในขณะที่ทีมคว้ารองแชมป์

กอร์ดอน ฮ็อดจ์สัน: 32 ประตู (1928-29), 36 ประตู (1930-31)

ศูนย์หน้าจากแอฟริกาใต้สร้างปรากฏการณ์ทำประตูอย่างสม่ำเสมอในทศวรรษ 1920 และ1930 รวมถึงสองครั้งที่ทำได้กับลิเวอร์พูล โดยเป็นฤดูกาล 1928-29 ที่เขาทำ 32 ประตู และ 36 ประตูในฤดูกาล 1930-31

นักเตะที่มีสถิติทำประตูในลีกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของสโมสรทำแฮตทริกไปสี่ครั้งในฤดูกาลหลังที่สร้างสถิติ และความจริงคือยังไม่มีใครในทีมหงส์แดงที่ทำสามประตูขึ้นไปในเกมเดียวมากกว่าเขาที่ 17 ครั้ง

บิลลี่ ลิดเดลล์ : 31 ประตู (1954-55), 32 ประตู (1955-56)

ลิดเดลล์คือแสงสว่างของทีมในช่วงตกต่ำของลิเวอร์พูล เมื่อเขาทำ 30 ประตูขึ้นไปสองครั้งในฤดูกาล  1954-55 และ 1955-56 ที่ทีมอยู่ในดิวิชั่นสอง

ในระหว่างนั้นมีของขวัญคริสต์มาสพิเศษของเขาด้วย เมื่อลิดเดลล์ทำสี่ประตูในเกมถล่มอิสวิช 6-2  ทีแอนฟิลด์ในวันที่ 25 ธันวาคม 1954

จอห์น อีแวนส์ :33 ประตู (1954-55)

ความเป็นจริงคือลิเวอร์พูลมีนักเตะสองคนที่ทำได้เกิน 30 ประตูในฤดูกาล 1954-55 และยังไม่ได้เลื่อนชั้น!

อีแวนส์ยิงรัวเป็นชุดจากการเหมาทั้งห้าประตูในเกมชนะบริสตอล โรเวอร์ส 5-3 และอีกสี่ประตูในเกมชนะบิวรี่ 4-3ในเกมนอกบ้านช่วงปลายฤดูกาล

เขาทำประตูได้มากกว่าลิดเดล แต่ไม่มีความหมายเมื่อสโมสรจับฤดูกาลได้เพียงในอันดับที่ 11

โรเจอร์ ฮันท์ : 42 ประตู (1961-62), 33 ประตู (1963-64), 37 ประตู (1964-65), 32 ประตู (1965-66), 30 ประตู (1967-68)

‘เซอร์’โรเจอร์คือหัวหกตัวเก่งในสุดยอดทีมยุคแรกของบิลล์ แชงคลีย์ เขาทำได้ 42 ประตูพลาดแค่เกมเดียวในลีกที่ช่วยให้หงส์แดงหลุดจากดิวิชั่น 2  ในฤดูกาล 1961-62 และต่อยอดด้วยได้ตอนที่พวกเขาคว้าแชมป์ลีกสองสมัย และเอฟเอ คัพ ครั้งแรก โดยฮันท์ทำประตูในนัดชิงชนะเลิศที่เวมบลีย์กับลีดส์ ยูไนเต็ดอีกด้วย

ความหลงใหลในสการทำประตูของเขาไม่ลดลงเลยหลังจากผ่านไปหลายปี และเขาทำเกิน 30  ประตูครั้งที่ห้า และครั้งสุดท้ายในหนึ่งทศวรรษหลังจากย้ายมาอยู่กับสโมสร

เคนนี ดัลกลิช : 31 ประตู (1977-78)

เดอะ คิงทำประตูมากที่สุดให้กับหงส์แดงตั้งแต่ฤดูกาลแรกของเขา หลังจากย้ายจากเซลติกในเดือนสิงหาคม 1977แทนที่เควิน คีแกนที่ย้ายไปฮัมบูร์กในช่วงซัมเมอร์ เขาทำได้ 6 ประตูจาก 8  GD,CID

ดัลกลิชมีชื่อทำประตู 31 ครั้งในฤดูกาลนี้ โดยลูกสุดท้ายเป็นประตูสุดสำคัญในการยิงย้อนข้ามเบอร์เกอร์ เจนเซ่นผู้รักษาประตูบรูคส์ที่เวมบลีย์ในการป้องกันแชมป์ยูโรเปียน คัพ ให้กับหงส์แดง

เขาทำได้ถึงเลข 20 ทั้งหมดสี่ครั้งจาก 5  ฤดูกาลต่อมา แม้ว่าตัวเลขส่วนตัวจะลดลง แต่ชดเชยด้วยการสร้างโอกาสทำประตูให้กับนักเตะรอบตัว

เอียน รัช : 30 ประตู (1981-82), 31 ประตู (1982-83), 47 ประตู (1983-84), 33 ประตู (1985-86), 40 ประตู (1986-87)

แน่นอนว่าต้องมีชื่อดาวยิงตลอดกาลของสโมสรอยู่ในกลุ่มนี้ นักเตะเวลส์ทำไป 30 ประตูได้ตั้งแต่ฤดูกาลแรกที่เขาได้อยู่ในทีมเต็มตัว ตามด้วย 31 ประตูในฤดูกาลต่อมา และ 47 ประตูที่เป็นสถิติมากที่สุดในฤดูกาลเดียว ซึ่งสโมสรได้ทริปเปิลแชมป์ลีก, ลีก คัพ และยูโรเปียน คัพในฤดูกาล 1983-84

ฤดูกาลต่อมาตกลงเล็กน้อยเพียง 26 ประตู ก่อนที่จะกลับมาทำประตูต่อเนื่องอีกครั้ง 33 และ  40 ประตูตามลำดับ ก่อนที่เขาจะย้ายไปยูเวนตุสในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งเขาแทบจะไร้คู่แข่ง

จอห์น อัลดริดจ์ : 31 ประตู (1988-89)

ต้องรอจนอายุยี่สิบลายๆ ที่เขาได้ย้ายตามความฝันมาอยู่ในแอนฟิลด์ และอัลดริดจ์ไม่รอให้เสียเวลาในการสร้างตัวเลขกับสโมสร แม้จะขาดไปเล็กน้อยที่จะทำถึง 30 ประตูในฤดูกาล 1987-88 แต่เขาทะลุกำแพงไปได้ในฤดูกาลต่อมาที่ลงเล่น 47 เกมในทุกรายการ

ร็อบบี ฟาวเลอร์ : 31 ประตู (1994-95), 36 ประตู (1995-96), 31 ประตู (1996-97)

กว่าหนึ่งทศวรรษหลังจากรัชที่เป็นผู้ให้คำแนะนำของเขาทลายกำแพง 30 ประตูได้สามฤดูกาลติดต่อกัน ดาวยิงจากท็อกซ์เท็ธตามรอยรุ่นพี่ด้วยการทำ 98 ประตูในทุกรายการในระหว่างฤดูกาล 1994 และ1997

เขาทำได้ 31, 36 และ 31 ประตูอีกครั้งติดต่อกัน ทำให้ฟาวเลอร์กลายเป็นกองหน้าที่อันตรายที่สุดในพรีเมียร์ลีก และน่าจะได้มากกว่าหนึ่งถ้วยลีก คัพ ในยุคของรอย อีแวนส์

มีแค่ซาลาห์ที่ทำได้มากกว่าในฤดูกาลเดียวช่วง 35 ปีที่ผ่านมาที่ข้ามสถิติดาวยิงสเก๊าเซอร์ที่ทำสถิติ 36 ประตูในฤดูกาล 1995-96

เฟร์นานโด ตอร์เรส : 33 ประตู (2007-08)

ตอร์เรสเริ่มต้นฤดูกาลแรกได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ กองหน้าชาวสเปนแสดงความกล้าหาญในการเล่น รวมถึงจังหวะสอดไปยิงผ่านปีเตอร์ เช็กทำประตูแรกในบ้านกับเชลซี

และเขายังเดินหน้าต่อ รวมถึงทำไปสามแฮตทริก และหกประตูในฤดูกาลที่หงส์แดงผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ แชมเปียนส์ลีก หลายเป็นฮีโร่คนใหม่ของเดอะ ค็อปป

หลุยส์ ซัวเรซ : 30 ประตู (2012-13), 31 ประตู (2013-14)

ซัวเรซตอบคำถามเรื่องการทำประตูที่มีข้อสงสัยในช่วง 18  เดือนแรกในเมอร์ซีย์ไซด์ และกองหน้าอุรุกวัยไม่ใช้โอกาสเปลืองในสองฤดูกาลต่อมาที่เขาเล่นแบบเต็มๆ

ซัวเรซทำไป 30 ประตูพอดีในฤดูกาลแรกของเบรนแดน ร็อดเจอร์สในฐานะผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล และดีกว่าเดิมหนึ่งประตูในปีต่อมา ซึ่งทุกประตูมากจาเกมพรีเมียร์ลีกซึ่งหงส์แดงพลาดแชมป์ลีกต่อแมนฯ ซิตี้แบบหวุดหวิด

โมฮาเหม็ด ซาลาห์ : 44 ประตู (2017-18), 31 ประตู (2020-21), 30 ประตู* (2021-22)

ซาลาห์เป็นคนที่ 13 ที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มหัวกะทิของสโมสร ตั้งแต่โอกาสแรกที่เขาทำได้ถึง 44 ประตูในฤดูกาลแรกในแอนฟิลด์ ก่อนที่เขาจะมีส่วนสำคัญให้ทีมของเจอร์เก้น คล็อปป์ชูถ้วยแชมเปียนส์ลีก และพรีเมียร์ลีก ในสองฤดูกาลต่อมา ซึ่งเขาทำได้เกิน 30 ประตูอีกครั้งในฤดูกาลที่แล้วที่เขาขึ้นไปอยู่ในรายชื่อกลุ่มดาวยิงสูงสุดของสโมสร

และกับเก้าเกมที่เหลือเป็นอย่างน้อย ซาลาห์ทำไปแล้ว 30 ประตูในฤดูกาลนี้ และยังเหลืออีกสามรายการหลังจากชูถ้วยคาราบาว คัพในเดือนกุมภาพันธ์